บทความที่ได้รับความนิยม

Custom Search

นำเสนอเรื่องราวของความรักในรูปแบบต่างๆมีทั้ง เร้าใจ เศร้า สนุกสนาน และ วิชาการ


Wikipedia

ผลการค้นหา

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

ประเพณีการแต่งงานและความเชื่อของชาวตะวันตก


คำว่า wedding ในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์ หมายถึง การพนันหรือวางเดิมพัน ซึ่งเชื่อ ว่ามีต้นเค้ามาจากการวางเงินสินสอดให้ฝ่ายเจ้าสาวซึ่งก็อาจเป็นที่มาของ ขนบธรรมเนียมและการถือโชคลางในงานแต่งงานด้วย เพราะการพนันต้องอาศัยโชค ช่วย หรือจะคิดในอีกแง่มุมหนึ่งว่าการ “ถือ” เรื่องต่าง ๆ นี้ เป็นความหวังดีที่จะให้นี้ เป็นความหวังดีที่จะให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวเริ่มต้นชีวิตคู่อย่างมีความสุข และมีอนาคตที่ สวยงามก็ว่าได้ ประเพณีโบราณของตะวันตกนั้นจะว่าไปแล้วก็คล้ายกับขนบธรรมเนียมของไทยอยู่ไม่น้อย มีทั้งเรื่องการเลือกสีชุดเจ้าสาว เทียนมงคล ของชำร่วย การกำหนดวันแต่งงาน และการถือเคล็ดโชคลางอื่น ๆ อีกมากมาย

สีของชุดเจ้าสาว:ความนิยมในชุดเจ้าสาวสีขาวนั้นมีที่มาหลายตำนานสุดแต่ใครจะเชื่อเรื่องไหน บ้างก็บอกว่าสีขาวเป็นสีแห่งความสุขมาตั้งแต่สมัยกรีกแต่ตำนานอื่น ๆบอกว่าเจ้าหญิง และพระราชินี ทรงเป็นผู้นำแฟชั่นชุดเจ้าสาวสีขาวพริ้นเซสและควีนองค์ดังของยุโรปอย่างเช่นเจ้าหญิงแอนน์แห่งบริตตานีสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียและพระชายาของนโปเลียนที่3 ล้วนแต่ทรงชุดขาวล้วนในพระราชพิธีอภิเษกสมรส แล้วหญิงสาวทั่วไปก็เลยยึดถือเป็นแบบอย่างโดยก่อนหน้านั้นเจ้าสาวจะเลือกสวมชุดสีอะไรก็ได้แต่มีข้อห้าม ที่เชื่อกันอยู่ว่า
1.สวมชุดสีขาวแต่งงาน คือการเลือกคู่ครองที่ถูกต้อง

2.สวมชุดสีเทาแต่งงาน คือการเดินทางยาวไกล

3.สวมชุดสีดำแต่งงาน คือยากกลับเป็นสาวใหม่

4.สวมชุดสีแดงแต่งงาน คือจะอยากตายให้แล้วไป

5.สวมชุดสีเขียวแต่งงาน คือจะอับอายไม่อยากพบผู้ใด

6.สวมชุดสีฟ้าแต่งงาน คือจะซื่อสัตย์ตลอดกาล

7.สวมชุดสีมุกแต่งงาน คือชีวิตจะพาวุ่นวาย

8.สวมชุดสีเหลืองแต่งงานเหมือนอายที่เจ้าบ่าวไม่ดีพอ

9.สวมชุดสีน้ำตาลแต่งงาน คือจะได้อยู่ในเมือง

10.สวมชุดสีชมพูแต่งงานความสนุกสนานจะลดลง ชุดสีเขียวน่าอายเพราะเหมือนเจ้าสาวปล่อยตัวเกลือกกลิ้งจนมีรอยหญ้าเปื้อน

ของชำร่วย :นอกจากจะใช้แทนคำขอบคุณแล้ว
ชาวตะวันตกยังถือว่าเป็นการแบ่งปันโชคลาภและความสุขให้แก่แขกเหรื่อโดยมีความเชื่อเพิ่มเติมอีกว่าการแจกอัลมอนด์ห้าเมล็ดหมายถึงอวยพรให้สุขภาพดี
ฐานะร่ำรวยอายุยืนยาวลูกหลานมากมายและมีความสุขกลีบกุหลาบและเมล็ดข้าว

การโปรยกลีบกุหลาบบนทางเดินก่อนที่เจ้าสาวจะก้าวไปยังแท่นพิธีจะช่วยขจัดวิญญาณร้ายจากใต้พิภพและช่วยให้มีลูกหลายสืบวงศ์สกุลนอกจากนี้อาจจะโปรยเมล็ดข้าวใบไม้ใบหญ้ารวมถึงดอกไม้แห้งที่เจ้าสาว เคยมอบให้แก่กันซึ่งก็ล้วนแต่สื่อถึงคำอวยพรให้มีลูกหลานละมีความสุข

การกำหนดวันแต่ง:เดือนมิถุนายนเป็นเดือนแห่งการแต่งงานเพราะJune มาจากพระนามJunoเทพีแห่งการแต่งงานและองค์ผู้พิทักษ์สตรีตามความเชื่อของโรมันโบราณเดือนพฤษภาคมไม่นิยมจัดงานแต่ง เพราะเป็นช่วงเวลาที่พวกนอกศาสนาจัดงานฉลองไร้ศีลธรรม จึงไม่เหมาะจะเริ่มต้นชีวิตคู่และในยุคโรมันก็มีพิธีFirst of the date กับเทศกาลเทพีแห่ง พรหมจารีย์ในเดือนพฤษภาคมด้วยทำให้เดือนเมษายนกลายเป็นเดือนที่มีการจัดพิธีแต่งงานในโบสถ์มากที่สุดเนื่องจากผู้คนหลีกเลี่ยงการแต่งงานในเดือนพฤษภาคม

ความเชื่อเกี่ยวกับการเลือกวันแต่งงานในสมัยโบราณมีอยู่ว่า วันจันทร์จะ ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงวันอังคารมีฐานะวันพุธดีทุกอย่างส่วนวันที่ไม่ควรแต่งคือพฤหัสบดี วันศุกร์และวันเสาร์เจ้าสาวไม่ควรตัดเย็บชุดแต่งงานด้วยตัวเองและช่างจะต้องสอยฝีเข็มสุดท้ายตอนที่เจ้าสาวกำลังจะออกเดินทางไปโบสถ์นอกจากนั้นเธอยังไม่ควรลองชุดเต็มยศ ครบเครื่องก่อนวันจริงและ ห้ามฝึกเซ็นนามสกุลใหม่ล่วงหน้าด้วยก่อนออกจากบ้านไปโบสถ์เจ้าสาวควรจะส่องกระจกอีกครั้งเพื่อจะได้โชคดี แต่ถ้าออกจากบ้านแล้วไม่ควรย้อนกลับมาดูกระจกเป็นครั้งที่สอง เพราะจะทำให้โชคร้าย

** ข้อห้ามก่อนวันแต่งงาน **
เจ้าสาวไม่ควรตัดเย็บชุดแต่งงานด้วยตัวเองและช่างจะต้องสอยฝีเข็มสุดท้ายตอนที่เจ้าสาวกำลังจะออกเดินทางไปโบสถ์นอกจากนั้นเธอยังไม่ควรลองชุดเต็มยศ ครบเครื่องก่อนวันจริงและห้ามฝึกเซ็นนามสกุลใหม่ล่วงหน้าด้วยก่อนออกจากบ้านไปโบสถ์เจ้าสาวควรจะส่องกระจกอีกครั้งเพื่อจะได้โชคดีแต่ถ้าออกจากบ้านแล้วไม่ควรย้อนกลับมาดูกระจกเป็นครั้งที่สอง เพราะจะทำให้โชคร้าย
บทความที่เกี่ยวข้อง

รายการบล็อกของฉัน