ซ่องโสเภณี หาย ขายเซ็กส์ผ่าน เน็ต-โอเกะ-หอพัก
ผลวิจัยชี้เมืองไทย“ตกเขียว”-“ซ่องโสเภณี”หายเกือบหมด แฉเปลี่ยนโฉมขายบริการทางเพศใหม่เป็นร้านอินเตอร์เน็ต-คาราโอเกะ-ขายตรงทางโทรศัพท์-หอพัก นักเรียนนักศึกษาอาศัยเครื่องแบบขายเซ็กส์ ค้าประเวณีเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัย เรื่อง “บทบาทชุมชนที่พึงประสงค์ในการป้องกันและเฝ้าระวังการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะกรณีการค้าหญิงและเด็ก ใน 17 ชุมชน 7 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ พะเยา สระแก้ว ตราด ชลบุรี บุรีรัมย์ และมุกดาหาร ระหว่างเดือนพฤษภาคม –
ธันวาคม พ.ศ.2550 พบว่า รูปแบบและสถานการณ์ความรุนแรงของปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ การตกเขียวในพื้นที่ต้นทางเริ่มหายไป
ขบวนการค้ามนุษย์พัฒนาวิธีการจูงใจและสร้างเงื่อนไขใหม่ ทำให้กลุ่มเสี่ยงและชุมชนมีมายาคติว่า การขายบริการทางเพศเป็นเรื่องส่วนตัว หารายได้เลี้ยงตัวเอง ไม่มีผู้ใดเสียหาย “การขายบริการทางเพศแบบสมัครใจหรือกึ่งจำใจจึงมีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกรณีของเด็กเยาวชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษา ทั้งเพศชายและหญิง ที่ประสงค์จะหาเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ ยังมีกระแสความต้องการบริการทางเพศหนาแน่นในพื้นที่เมืองใหญ่ เมืองท่องเที่ยว”ผศ.ดร.จิตติ กล่าว ผศ.ดร.จิตติ กล่าวอีกว่า ในส่วนของพื้นที่ปลายทาง ซ่องโสเภณีแบบเก่าถูกแทนที่ด้วยร้านคาราโอเกะ ,โรงแรม ,สถานบริการนวดแผนปัจจุบันและโบราณ ,ร้านอินเตอร์เน็ตที่มีการใช้เวบไซต์โชว์รูปและติดต่อซื้อขายกัน ,หอพักทั่วไปที่เป็นแหล่งขายบริการของนักศึกษาตลอดชีพ หมายถึงนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนทุกปีแต่ไม่เคยสำเร็จการศึกษา และอาศัยเครื่องแบบหารายได้ขายบริการ และการขายบริการทางเพศแบบอิสระ ซึ่งใช้วิธีการโทรศัพท์ติดต่อเพื่อซื้อบริการโดยตรง คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ กล่าวด้วยว่า จากการศึกษาบทบาทของชุมชนในการแก้ปัญหาในเรื่องการค้ามนุษย์
ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในนิยามความหมาย หรือไม่มีบทบาท เพราะรู้สึกว่าเกินอำนาจหน้าที่ รวมทั้ง แกนนำบางชุมชนไม่สามารถดำเนินงานใด ๆ ได้เพราะขบวนการค้ามนุษย์มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้มีอิทธิพลในจังหวัดทั้งที่เป็นข้าราชการและไม่ใช่ข้าราชการ
กิจกรรมที่ทำเป็นเพียงการผสมผสานเข้ากับกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ หอกระจายข่าว จัดเวรยามดูเรื่องความปลอดภัย การอบรม เป็นต้น กิจกรรมต่าง ๆจึงไม่ได้มุ่งเน้นการป้องกันและแก้ปัญหาโดยตรง ทั้งนี้ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในการป้องกันการค้ามนุษย์ต้องทำในหลายมิติ โดยเฉพาะการสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน
ผลวิจัยชี้เมืองไทย“ตกเขียว”-“ซ่องโสเภณี”หายเกือบหมด แฉเปลี่ยนโฉมขายบริการทางเพศใหม่เป็นร้านอินเตอร์เน็ต-คาราโอเกะ-ขายตรงทางโทรศัพท์-หอพัก นักเรียนนักศึกษาอาศัยเครื่องแบบขายเซ็กส์ ค้าประเวณีเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัย เรื่อง “บทบาทชุมชนที่พึงประสงค์ในการป้องกันและเฝ้าระวังการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะกรณีการค้าหญิงและเด็ก ใน 17 ชุมชน 7 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ พะเยา สระแก้ว ตราด ชลบุรี บุรีรัมย์ และมุกดาหาร ระหว่างเดือนพฤษภาคม –
ธันวาคม พ.ศ.2550 พบว่า รูปแบบและสถานการณ์ความรุนแรงของปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ การตกเขียวในพื้นที่ต้นทางเริ่มหายไป
ขบวนการค้ามนุษย์พัฒนาวิธีการจูงใจและสร้างเงื่อนไขใหม่ ทำให้กลุ่มเสี่ยงและชุมชนมีมายาคติว่า การขายบริการทางเพศเป็นเรื่องส่วนตัว หารายได้เลี้ยงตัวเอง ไม่มีผู้ใดเสียหาย “การขายบริการทางเพศแบบสมัครใจหรือกึ่งจำใจจึงมีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกรณีของเด็กเยาวชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษา ทั้งเพศชายและหญิง ที่ประสงค์จะหาเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ ยังมีกระแสความต้องการบริการทางเพศหนาแน่นในพื้นที่เมืองใหญ่ เมืองท่องเที่ยว”ผศ.ดร.จิตติ กล่าว ผศ.ดร.จิตติ กล่าวอีกว่า ในส่วนของพื้นที่ปลายทาง ซ่องโสเภณีแบบเก่าถูกแทนที่ด้วยร้านคาราโอเกะ ,โรงแรม ,สถานบริการนวดแผนปัจจุบันและโบราณ ,ร้านอินเตอร์เน็ตที่มีการใช้เวบไซต์โชว์รูปและติดต่อซื้อขายกัน ,หอพักทั่วไปที่เป็นแหล่งขายบริการของนักศึกษาตลอดชีพ หมายถึงนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนทุกปีแต่ไม่เคยสำเร็จการศึกษา และอาศัยเครื่องแบบหารายได้ขายบริการ และการขายบริการทางเพศแบบอิสระ ซึ่งใช้วิธีการโทรศัพท์ติดต่อเพื่อซื้อบริการโดยตรง คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ กล่าวด้วยว่า จากการศึกษาบทบาทของชุมชนในการแก้ปัญหาในเรื่องการค้ามนุษย์
ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในนิยามความหมาย หรือไม่มีบทบาท เพราะรู้สึกว่าเกินอำนาจหน้าที่ รวมทั้ง แกนนำบางชุมชนไม่สามารถดำเนินงานใด ๆ ได้เพราะขบวนการค้ามนุษย์มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้มีอิทธิพลในจังหวัดทั้งที่เป็นข้าราชการและไม่ใช่ข้าราชการ
กิจกรรมที่ทำเป็นเพียงการผสมผสานเข้ากับกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ หอกระจายข่าว จัดเวรยามดูเรื่องความปลอดภัย การอบรม เป็นต้น กิจกรรมต่าง ๆจึงไม่ได้มุ่งเน้นการป้องกันและแก้ปัญหาโดยตรง ทั้งนี้ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในการป้องกันการค้ามนุษย์ต้องทำในหลายมิติ โดยเฉพาะการสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน