บทความที่ได้รับความนิยม

Custom Search

นำเสนอเรื่องราวของความรักในรูปแบบต่างๆมีทั้ง เร้าใจ เศร้า สนุกสนาน และ วิชาการ


Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

ลูกใครเอ่ย


~ ลูกใครเอ่ย ~
หัวข้อนี้ได้รับความกรุณาจาก น.อ.ศิริวัฒน์ ธนะเพทย์ ซึ่งรับราชการอยู่ที่ สรส .
ที่ท่านได้เล่าให้ ้ฟังว่า มีนักเรียนคนหนึ่งมาสมัครเป็นนักเรียนในโรงเรียนทหารแห่งหนึ่ง ซึ่งในขั้นตอนการทำสัญญา เข้า รับราชการต้องอาศัยความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบ ธรรม ซึ่งได้แก่ บิดาและมารดา มิฉะนั้นจะทำให้ สัญญาเป็นโมฆียะ ( เสียเปล่าตั้งแต่ เริ่มแรก เมื่อมีการบอกล้าง ) แต่ปรากฏว่าบิดามารดาของนักเรียน ผู้นั้นไม่ได้จดทะเบียน สมรสกัน แล้วมารดาก็ได้หนีหายหรือเสียชีวิตไปตั้งแต่ยังเด็ก ส่วนพ่อเองก็ไม่เคย มีการ จดทะเบียนรับรองบุตรมาก่อน จึงทำให้ทางหน่วยงานรับสมัครเกิดปัญหาว่า แล้วใครจะ เป็นคน ลงลายมือชื่อในเอกสารหรือให้การยินยอมในการทำสัญญาในฐานะผู้แทนโดย ชอบธรรมของเด็ก

ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดให้เด็กที่เกิด จากครรภ์ ของหญิงใดย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น โดยไม่มีทางปฏิเสธ เป็น อย่างอื่น ทั้งนี้เนื่องจาก กฎหมายใช้คำว่า “ ให้ถือว่า ” ซึ่งเป็นคำที่หนักแน่นกว่าการ สันนิษฐาน และเด็กก็ย่อมเป็นบุตร ที่ชอบด้วย กฎหมายของหญิงเสมอไม่ว่าหญิงมารดา จะได้สมรสกับชาย ใดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งมารดาก็ย่อมมีอำนาจ ปกครองบุตรตามกฎหมาย ทุกประการ

แต่ในส่วนของบิดานั้น หากหญิงมารดาไม่ได้ทำการสมรสกับชายผู้เป็นบิดา เด็กที่เกิดมาจะเป็นบุตร
นอกสมรสของชายผู้นั้น ซึ่งบุตรนอกสมรสนั้นหมายถึง เด็กที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้เป็นคู่สมรส กันโดย ถูกต้องตามกฎหมาย และเด็กนั้นก็จะถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วย กฎหมายของหญิงผู้เป็นมารดาคนเดียว ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือบุตรในสมรส บุตรในสมรส หมายถึง เด็กที่เกิดจากบิดามารดาซึ่งได้มีการสมรสกันโดย ชอบด้วยกฎหมายในระหว่างที่การสมรสนั้น ยังมีผลบังคับอยู่โดยถูกต้องตามกฎหมายรวมถึงเด็กที่เกิดจาก
หญิงภายใน สามร้อยสิบวันนับ แต่วันที่การสมรสนั้นสิ้นสุดลง ทั้งนี้เกิดจากการที่กฎหมายได้กำหนดข้อ
สันนิษฐานไว้ในเบื้องต้น เท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาเด็กตกอยู่ในสภาพไร้บิดา ซึ่งในสังคมปัจจุบันเกิดขึ้น
เสมอๆ ข้อ สันนิษฐานนี้แม้จะเป็นข้อสันนิษฐานที่เด็ดขาด แต่เป็นเพียงขั้น ต้นเท่านั้น ผู้เป็นบิดาอาจโต้ แย้งปฏิเสธได้ว่าตนมิใช่บิดาของเด็ก แม้จะเป็นสามีหรือเคย เป็นสามีของหญิงดังกล่าวก็ตาม ซึ่งจะได้ ทำการกล่าวถึงต่อไป

หากเด็กเกิดในช่วงเวลาที่หญิงและชายได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย เด็กที่เกิดมาก็ย่อมเป็น บุตรของชายผู้เป็นสามีของหญิงผู้เป็นมารดาของเด็กแน่นอน แต่หาก เด็ก เกิดภายหลังจากที่ การสมรสสิ้น สุดลง ภาวะเช่นนี้เราจะทราบได้อย่างไรว่าเด็กนั้นเป็น ลูกของใคร เพราะเมื่อการสมรส สิ้นสุดลงแล้ว หญิง ย่อมมีอิสระที่จะมีความสัมพันธ์กับชาย ใดก็ได้ ทำให้การที่กฎหมายจะกำหนดให้เด็กที่เกิดหลังการสมรส สิ้นสุดลงเป็นบุตรของชาย ผู้เคยเป็นสามี เสมอไป ย่อมไม่ถูกต้องกับความเป็นจริงและไม่เป็นธรรมแก่ชาย ผู้เคยเป็นสามี ในขณะเดียวกัน การไม่กำหนดให้บุตรที่เกิดในสภาวะเช่นนี้เป็นบุตรของผู้ใดเลย ก็ถือเป็นการไม่ให้ความคุ้มครอง แก่เด็ก ฉะนั้น
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและ สอดคล้องกับความเป็นจริง กฎหมายจึง
กำหนดข้อ สันนิษฐานให้เด็กที่เกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้น สุดลง เป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของชายผู้เคยเป็นสามี

การกำหนดระยะเวลาให้เด็กที่เกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสนั้นสิ้นสุดลง เป็นบุตร ในสมรส ดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากเป็นระยะเวลายาวที่สุดที่ทารกจะอยู่ในครรภ์ มารดานับแต่ มีการปฏิสนธิจนกระทั่ง คลอด เป็นไปได้ว่าก่อนการสมรสสิ้นสุดลงสามีภรรยาอาจมีเพศสัมพันธ์กัน และเกิดการ ปฏิสนธิขึ้นหลังจาก นั้น กฎหมายจึงกำหนดข้อสันนิษฐาน ดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่เด็กที่ จะเกิดมาในภายหลัง สำหรับเด็กที่เกิด หลังจากพ้นสามร้อยสิบ วัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนี้ โดย การสมรส ที่สิ้น สุดลงนี้อาจจะเกิดจากการตาย การหย่า การที่ศาลเพิกถอนให้การสมรสที่เป็นโมฆียะ รวมไป ถึงการสมรสที่เป็นโมฆะด้วย

ส่วนวิธีการที่จะเปลี่ยนสถานะของบุตรนอกสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา ซึ่งจะมีผล ทำให้บิดาสามารถให้ความยินยอมในเรื่องต่างๆ รวมทั้งการทำสัญญากับหน่วย งานรับ สมัครได้ นั้น สามารถกระทำได้ ๓ วิธี คือ

( ๑ ) บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง โดยสถานะความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของเด็กจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติจากผลของการสมรส ในภาย หลัง ของบิดามารดา โดยบิดาไม่จำเป็นต้อง จดทะเบียนรับรองบุตรอีก และผล ของการ เป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายนี้จะมีผลนับแต่วันสมรสของบิดามารดา มิได้ย้อนหลังไปจนถึงวันที่เด็ก เกิดดังนั้น ในระยะเวลาก่อน การสมรสของบิดามารดา เด็กจะไม่มีสถานะเป็น บุตรชอบด้วยกฎหมาย ของบิดา

( ๒ ) บิดาจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร โดยเด็กจะมีสถานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา
โดยบิดาไม่ จำเป็นต้องสมรสกับมารดา ซึ่งทะเบียนในกรณีนี้จะหมายถึงทะเบียน ครอบครัวสำหรับจด ทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร คือ ทะเบียน คร.๙ ออกตามกฎกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.๒๔๗๘ (ฉบับที่ ๒) ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน คือการที่บิดาเอาชื่อเด็กที่เกิดไปลงไว้ในทะเบียน บ้านในฐานะบุตรหรือยินยอมให้ ้มีการแจ้งดังกล่าว ไม่ถือเป็นการจดทะเบียนรับรองบุตร โดย ผู้ที่จะขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร ชอบด้วย กฎหมายต้องเป็นบิดาที่แท้จริงของเด็ก และจะ จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรได้ก็ต่อเมื่อได้ รับความยินยอม จากเด็กและมารดาเด็ก

โดยปกติเมื่อชายผู้เป็นบิดาจะขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร จะต้องไปยื่นคำร้องขอ จดทะเบียน
รับ เด็กเป็นบุตรต่อนายทะเบียน ณ ที่ทำการเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หากเด็กและมารดาเด็ก ไปด้วย นายทะเบียนจะให้บุคคลทั้งสองลงนามให้ความยินยอมในการขอจดทะเบียนของชาย ผู้เป็นบิดาใน ด้านหลังคำร้องนั้น แต่ถ้าเด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้า นายทะเบียน นาย ทะเบียน จะต้องมีหนังสือแจ้งการขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของชาย ผู้เป็นบิดาไปยังบุคคล ทั้งสอง เพื่อ สอบถามว่าจะให้ความยินยอมในการจดทะเบียนนี้หรือไม่ หากเด็กและมารดาเด็ก แสดงความยินยอม ไม่ว่าจะโดยทำเป็นหนังสือ หรือมาแจ้งด้วยตนเอง นายทะเบียนก็สามารถ รับจดทะเบียนได้ แต่ถ้า นายทะเบียนไม่ได้รับคำตอบแสดงคำยินยอม หรือแม้แต่ไม่แสดงการ คัดค้านใดๆ ภายใน ๖๐ วัน กรณีที่อยู่ในประเทศไทย หรือ ๑๘๐ วัน กรณีที่อยู่ต่างประเทศ นับแต่วันที่แจ้ง กฎหมายให้สันนิษฐาน ว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ ความยินยอม ซึ่งรวมทั้งกรณีที่ มารดา ไม่สามารถให้ความยินยอมเนื่องจาก ได้เสียชีวิตไป แล้วด้วย นายทะเบียนจะรับจดทะเบียน ให้ไม่ได้ ชายผู้ขอจดทะเบียนจะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล เพื่อให้ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนเด็กเป็น บุตร และเมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ชายผูู้้ขอ จดทะเบียน เด็กเป็นบุตรจดทะเบียนได้แล้ว ชายผู้ขอจดทะเบียนจะต้องนำคำพิพากษานี้ไปขอจดทะเบียน ต่อนาย ทะเบียน และนายทะเบียนต้องดำเนินการจดทะเบียนให้ ส่วนการคัดค้าน การจดทะเบียนนั้นจะทำได้เฉพาะ ตัวเด็กและ มารดาของเด็กเองเท่านั้น และข้อคัดค้านมีเพียง ประการเดียว คือบุคคลผู้ขอจดทะเบียนมิ ใช่บิดา จะอ้างเหตุอื่น เป็นต้นว่ามีความประพฤติไม่ดี ต้องการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรด้วยประสงค์ จะเอาทรัพย์สินเด็ก เช่นนี้มาเป็นข้ออ้างใน การคัดค้านไม่ได้

การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยวิธีนี้จะมีผลนับแต่วันที่มีการจดทะเบียน ไม่ได้ย้อนหลัง
ไปถึงวันที่เด็กเกิด ส่วนในกรณีที่เสนอคดีต่อศาล ให้มีผลในวันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด

( ๓ ) มีการยื่นฟ้องต่อศาลขอให้มีคำพิพากษาว่า เด็กเป็นบุตรของฝ่ายชาย โดยมีข้ออ้างดังนี้ คือ

• เมื่อฝ่ายชายข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดย มิชอบด้วยกฎหมาย ในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้

• เมื่อฝ่ายชายลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาว หรือมีการล่อลวงร่วมประเวณี กับหญิงมารดาในระยะ เวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้

• เมื่อมีเอกสารของฝ่ายชายแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน

• เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรของฝ่ายชาย โดยมีหลักฐานว่า ฝ่ายชายเป็นผู้แจ้งเกิด หรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น

• เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจ ตั้งครรภ์ได้

• เมื่อได้มีการร่วมประเวณีระหว่างฝ่ายชายกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุ อันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น

• เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรของฝ่ายชาย ซึ่งจะพิจารณาได้จากการแสดง
ออกของฝ่ายชายว่า เป็นการปฏิบัติที่บิดาโดยทั่วไปพึงกระทำต่อบุตร

ส่วนฝ่ายชายเองหากมิใช่บิดาของเด็กจะต้องพิสูจน์ลบล้างความเป็นบุตร ตามข้อสันนิษฐานความ
เป็นบุตร โดยมีข้อหักล้างได้ ๒ กรณี คือ ตนไม่ได้อยู่ร่วมกับมารดาเกิดในระยะเวลา ตั้งครรภ์ คือระหว่าง ๑๘๐ วัน ถึง ๓๑๐ วัน ก่อนเด็กเกิด และกรณีที่ตนไม่สามารถเป็นบิดา ของเด็กได้ เพราะเหตุอย่างอื่น เช่น พิสูจน์ว่าตนเป็นหมัน หรือการพิสูจน์หมู่เลือดของตน และเด็กว่าอยู่คนละกลุ่มกัน เป็นต้น แต่หากฝ่ายชายผ ู้เป็นหรือเคยเป็นสามีเป็นผู้แจ้งทะเบียน คนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรของตนด้วยตนเอง หรือจัดให้บุคคลอื่นแจ้ง ตลอดจนยินยอมให้มีการ แจ้งทะเบียนคนเกิดดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำอันตระหนักได้โดย ปริยายว่า ชายผู้เป็นสามียอมรับว่าเด็กนั้นเป็นบุตรที่แท้จริง จึงไม่อาจปฏิเสธใน ภายหลังได้ว่าเด็กนั้น
มิใช่บุตรของตน

ดังนั้น ทางแก้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเด็กเป็นลูกของใครในภายหลัง หากต้องการจะอยู่กินกัน ฉันสามี ภรรยามีลูกหลานสืบสกุลก็ควรจะจดทะเบียนสมรส เพื่อให้การสมรสนั้นเป็นสิ่งที่ถูก ต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลดีทั้งในแง่ของสถานะการเป็นสามีภรรยา รวมถึงบุตรที่จะเกิด มาในอนาคต แต่ในยุคปัจจุบัน มุมมองของผู้หญิงอาจจะเปลี่ยนไป คือ ข้อจำกัดในการเป็น สามีภรรยา อาจส่งผลทั้งในแง่ของการ ใช้นามสกุล ทรัพย์สินที่แต่เดิมเป็นสินส่วนตัวใช้คนเดียว เมื่อแต่งงานจะกลายเป็นสินสมรส ที่ต้องแบ่ง กันกินแบ่งกันใช้ ทำให้ผู้หญิงหลายคนไม่นิยม ที่จะจดทะเบียนสมรส ฉะนั้น ทางแก้ที่ดีที่สุดเมื่อผู้เป็นแม่ อาจไม่สามารถอยู่ดูแลลูกได้ใน

อนาคต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใดๆ ก็ตาม ก็คือ การให้ผู้เป็นบิดาจดทะเบียนรับรองบุตร หรือยินยอมให้มีการจดทะเบียนรับรองบุตรเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเด็ก ขาดผู้แทน โดยชอบธรรม ในการให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมต่างๆ ในภายหลัง แล้วอาจจะพลาด โอกาสในการเป็นนักเรียนทหารก็เป็นได้

* ข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตรหญิงเหล่า พระธรรมนูญ คนแรกของ ทร .
ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่ง รรก . อจ . ฝศษ . รร . นร ., จบการศึกษาจาก นิติศาสตร์บัณฑิต

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา วิชากฎหมายระหว่างประเทศ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายการบล็อกของฉัน